SABUY แจงขายหุ้น SINGER เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น จับตาปรับโครงสร้างก่อนเข้าซื้อ

นายชูเกียรติ รุจนพรพจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY เปิดเผยว่า กรณีที่บริษัทได้มีการขายหุ้นของ บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ออกมานั้น เพื่อเป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อป้องกันความเสียหายจากความผันผวนของตลาดหุ้น ในกรณีวิกฤติของ Silicon Valley Bank เท่านั้น ส่วนการจะกลับเข้าไปลงทุนในหุ้น SINGER อีกครั้งเมื่อไร ต้องขอดูการปรับโครงสร้างและผลการดำเนินงานของบริษัทก่อน

ทั้งนี้ ในการขายหุ้นของ SABUY นั้น บริษัทตัดสินใจโดยมองถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้น SABUY เป็นหลัก ซึ่งจะบันทึกขาดทุนในไตรมาส 1/66 ราว 37 ล้านบาท แต่หากเทียบกับเม็ดเงินลงทุนประมาณ 800 ล้านบาท ก็ถือว่าอยู่ในสัดส่วนที่น้อย หากบริษัทไม่ทำการขายหุ้นออกมาในช่วงเวลานั้น คาดว่าจะมีผลขาดทุนราว 200-300 ล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาหุ้นปัจจุบัน ซึ่งการเข้าไปลงทุนในหุ้น SINGER เป็นการลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 5% ตาม Guideline หมายความว่าเป็นการลงทุนที่สามารถซื้อ-ขายได้

ส่วนแผนการเข้าไปลงทุนใน บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ปัจจุบันได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งจะเป็นการเข้าไปลงทุนในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญในการบริหาร และได้รับประโยชน์จากการ synergy ของธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการขยายสาขาและเครือข่าย ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านต่างๆ ประกอบการเข้าลงทุน เช่น การปรับโครงสร้างภายในของบริษัท แผนการดำเนินงาน และผลประกอบการไตรมาส 1/66 และไตรมาส 2/66 ด้วย

“ต้องบอกว่านักลงทุน SINGER หลายๆ คน จะติดต่อผมมาเยอะมากเลย ว่าทำไม SABUY ไม่รีบเข้าไปซื้อหุ้น เพราะเขารู้สึกว่าการที่บริษัทเข้าไปลงทุน ไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องของราคาหุ้น แต่จะทำให้มีการกลับตัวของการทำงาน และเขาเชื่อว่า SABUY ทำธุรกิจที่มีการกระจายตัว และเห็นมูลค่าที่แท้จริงของการทำธุรกิจ” นายชูเกียรติ กล่าว

 

นายชูเกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มผลประกอบการในไตรมาสที่ 2/66 บริษัทยังดำเนินธุรกิจได้ตามแผนที่วางไว้ และคาดว่าจะเติบโตได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนภาพรวมผลประกอบการทั้งปี 2566 เชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย โดยรักษารายได้ที่ระดับ 2 หมื่นล้านบาท แม้ว่าธุรกิจเดิมอย่างตู้เติมเงินจะชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง และค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่บริษัทมีการกระจายการลงทุนในธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง จะเข้ามาเป็นส่วนเสริมให้รายได้สามารถเติบโตได้

ขณะเดียวกัน บริษัทคาดว่าโครงสร้างรายได้หลักๆ ในปีนี้ จะมาจากกลุ่มธุรกิจ InnoTainment และ Infrastructure ราว 6,000 ล้านบาท, ธุรกิจให้บริการตู้อัตโนมัติ (Kiosk) จะอยู่ราว 4,000 ล้านบาท, ธุรกิจขายสินค้า (Merchandise) ราว 3,000 ล้านบาท และ ธุรกิจกลุ่ม SABUY SPEED ราว 3,000 ล้านบาท และกลุ่ม Finacial Service ราว 1,000 ล้านบาท

SABUY แจงขายหุ้น SINGER เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น จับตาปรับโครงสร้างก่อนเข้าซื้อสำหรับการเข้าลงทุนใน บมจ.แอสเฟียร์ อินโนเวชั่นส์ (AS) หรือชื่อเดิมคือ บมจ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ที่บริษัทถืออยู่ราว 24% ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอเข้าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เพื่อกำหนดแผนธุรกิจร่วมกันต่อเนื่องจากช่วงปีก่อน ให้เกิดความร่วมมือระหว่างธุรกิจที่เกิดขึ้นกับ SABUY มากขึ้น หลังจากนั้นจะเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยเชื่อว่า AS จะเป็นหนึ่งในธุรกิจเรือธงของบริษัทในกลุ่ม InnoTainment

นอกจากนี้ บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเจรจา เพื่อเข้าลงทุนในบริษัทอื่นจำนวน 2-3 ดีล ซึ่งจะเป็นการต่อยอด Ecosystem ให้กับบริษัท

เพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินงานที่ดีขึ้น เพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคได้ตามเป้าหมายของบริษัท โดยสนใจในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ 6 กลุ่มธุรกิจหลักของบริษัท ได้แก่ 6 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ

1. Payments and Wallet

2. Enterprise & Life

3. Connext

4. Financial Inclusion

5. InnoTainment และ

6. Venture

บริษัทวางงบลงทุนไว้ราว 5,000 ล้านบาท สำหรับดีลใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้เงินทุนจากการขายสินทรัพย์บางส่วน และการขายที่ดินที่ไม่ก่อรายได้ของบริษัทย่อย เพื่อเป็นการไม่สร้างภาระหนี้ให้กับบริษัทเพิ่ม โดยจะรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ไว้ไม่เกิน 1 เท่า จากปัจจุบันอยู่ที่ราว 0.4 เท่า ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยรอบด้านของธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุนด้านต่างๆ ซึ่งหากมีความเสี่ยงมากเกินไป อาจต้องชะลอการลงทุนไว้ก่อน.

ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ :