วันนอร์ 2

พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และพรรคเพื่อไทย (พท.) มีข้อตกลงร่วมกันเสนอชื่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือ วันนอร์ หัวหน้าพรรคประชาชาติ (ปช.) นั่งตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่วนตำแหน่งรองประธานสภาคนที่ 1 เป็นโควตาของพรรค ก.ก. และรองประธานสภา คนที่ 2 เป็น ส.ส. จากเพื่อไทย

มติเพื่อไทย เคาะชื่อ วันนอร์ ช่วงเช้า

ก่อนหน้านี้ในเช้า ที่ประชุม ส.ส. และกรรมการบริหาร (กก.บห.) พรรคเพื่อไทย เห็นควรเสนอชื่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือ “วันนอร์” ต่อคณะเจรจาของพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เพื่อสนับสนุนให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยหากทั้งสองพรรคมีข้อสรุปชัดเจน จะมีการแถลงร่วมกันในช่วงค่ำวันนี้ หลังเสร็จสิ้นรัฐพิธีประชุมสภา

ช่วงเที่ยงที่ผ่านมาภายหลังการประชุม ส.ส. 141 คน ยังไม่มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการจากพรรคเพื่อไทย มีเพียงการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อของแกนนำบางส่วน เช่น นายสุทิน คลังแสง ส.ส. มหาสารคาม พท. ที่เปิดเผยว่า ต้องรอให้กรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เป็นผู้แถลงข้อสรุปโดยคาดว่าจะเป็นช่วงค่ำหลังจาก ส.ส. ทั้งหมด เข้าร่วมรัฐพิธีเปิดประชุมสภา

นายสุทิน กล่าวยืนยันว่าในส่วนของพรรคเพื่อไทย วันนี้มีข้อสรุปเรื่องประธานสภาแน่นอน และเชื่อว่า “ประชาชนจะไม่ผิดหวัง” โดย กก.บห. พรรค จะฟังเสียงสมาชิก ส.ส. ให้ได้มากที่สุด

“จะจบยังไง เชื่อว่าจะอธิบายสังคมได้ และคิดว่าจะแฮปปี้กว่าที่ผ่านมา” นายสุทิน กล่าว

ก่อนหน้าการประชุม ส.ส. พรรค ในช่วงเช้า แกนนำอย่างน้อยสองคน ได้แก่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อว่า พรรคเตรียมเสนอชื่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือนายวันนอร์ ชิงเก้าประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างเพื่อไทย และก้าวไกล ที่เสนอชื่อนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส. พิษณุโลก ก้าวไกล ชิงตำแหน่งประธานสภา

“ในเมื่อพรรคเพื่อไทย กับก้าวไกล มีข้อสรุปไม่ลงตัวเราก็เสนอคนกลางไป” นายสุริยะกล่าว พร้อมบอกว่า เบื้องต้นได้มีการทาบทามนายวันนอร์แล้ว

ด้านนายวันนอร์ เปิดเผยกับรายการ “กรรมกรข่าว คุยนอกจอ” ช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า ยังไม่ทราบถึงการเสนอชื่อ แต่ “ถ้าเพื่อไทย มีมติออกมาแล้ว ก็ยินดีที่จะรับ แต่ต้องฟังเสียงพรรคก้าวไกล และเสียงของประชาชนด้วย”

เส้นทางการเมืองของ “วันนอร์” ส.ส. 10 สมัย จากชายแดนใต้

ปัจจุบัน นายวันนอร์ มีอายุ 79 ปี เขาเป็นนักการเมืองมุสลิมจากชายแดนใต้ชาว จ.ยะลา และแกนนำนักการเมืองมุสลิมกลุ่มวาดะห์ ที่เคยสังกัดพรรคการเมืองมาแล้วหลายพรรค โดยเป็น ส.ส. สมัยแรกที่ จ.ยะลา ในปี 2522 ภายใต้สังกัดพรรคกิจสังคม

คอการเมืองเก่าอาจจะรู้จักวันนอร์ในฐานะแกนนำ ส.ส. กลุ่มวาดะห์ ซึ่งเป็นกลุ่ม ส.ส. ที่วันนอร์ก่อตั้งขึ้นร่วมกับนายวีระ มุสิกพงศ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ขณะสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงปี 2529 ก่อนแยกตัวออกจากพรรคมาภายหลัง

บทบาทการเป็นฝ่ายบริหารในรัฐบาล เขาเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2537) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 2 สมัย (2538 และ 2544 สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์-รองนายกรัฐมนตรี (2547 สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร)

ส่วนในสนามการเลือกตั้ง ส.ส. นักการเมืองมุสลิมชาวยะลารายนี้ เป็น ส.ส. มาแล้ว 10 สมัย (รวมปี 2566) ภายใต้พรรคการเมืองหลายพรรค โดยล่าสุด พรรคประชาชาติของวันนอร์ เพิ่งก่อตั้งมาในปี 2561 ก่อนลงสนามเลือกตั้งครั้งแรกในเดือน มี.ค. 2562

วันนอร์ 1

บทบาทและจุดเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งสำคัญของ วันนอร์

  • ปี 2535 วันนอร์นำนักการเมืองกลุ่มวาดะห์ ร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก่อนได้รับการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นสมัยที่ 5 และเข้าสู่ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
  • ปี 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 7 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 24 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. 2539 – 27 มิ.ย. 2543 ในสมัยรัฐบาล พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ที่พรรคความหวังใหม่ ได้ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภา 125 เสียง ถือเป็นมุสลิมคนแรกของประเทศที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้
  • ปี 2540 วันที่ 11 ต.ค. 2540 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในฐานะประธานรัฐสภา ได้เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นได้นำไปประกาศราชกิจจานุเบกษาในวันเดียวนั้น จึงมีผลให้รัฐธรรมนูญบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค. 2540 เป็นต้นไป
  • ปี 2545 ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย (ทรท.) หลังจากมีการยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรค ทรท. โดยในปี 2544 วันนอร์ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในนามพรรคความหวังใหม่
  • ปี 2549 เส้นทางการเมืองหยุดลงชั่วคราวจากการที่พรรค ทรท. ถูกยุบในปี 2549 ทำให้นายวันนอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรค ถูกสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี โดยหลังจากนั้น ได้เข้าไปสังกัดพรรคการเมืองหลายพรรค โดยพรรคสุดท้ายก่อนออกมาก่อตั้งพรรคประชาชาติ คือ พรรคเพื่อไทย
  • ปี 2561 ก่อตั้งพรรคประชาชาติ

วันนอร์และกลุ่มวาดะห์ จากประชาธิปัตย์-ความหวังใหม่ สู่ไทยรักไทย

บทความในฐานข้อมูลของสถาบันพระปกเกล้า เขียนถึงเส้นทางของนักการเมืองกลุ่มวาดะห์ว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2535 ที่ได้ ส.ส. มาหลายสมัย ในภายหลัง “ชื่อเสียงของกลุ่มวาดะห์ ต้องตกต่ำลงอย่างมาก” เมื่อพ่ายแพ้การเลือกตั้งในพื้นที่ภาคใต้ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2548 ซึ่งขณะนั้น ส.ส. กลุ่มนี้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยที่มีนายทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค โดยไม่มีผู้สมัครของทางกลุ่มได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว ทั้งที่เคยครองพื้นที่อย่างเหนียงแน่นมากว่า 20 ปี

เปิดขั้นตอนเลือกประธานสภา 4 ก.ค. 2566

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดแรก จะมี ส.ส. เข้าร่วมประชุม 499 คน เนื่องจาก ส.ส. ก้าวไกล ขาดคุณสมบัติ 1 คน

ประธานสภาชั่วคราว คือ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ พรรคเพื่อไทย เนื่องจากอาวุโสสุด (89 ปี)

ขั้นตอนที่ 1: การเสนอชื่อ

ส.ส. ทั้ง 499 คนมีสิทธิเสนอชื่อได้คนละ 1 ชื่อ โดยจะเสนอชื่อ ส.ส. จากพรรคเดียวกัน หรือต่างพรรคก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกเสนอชื่อ ต้องมี ส.ส. รองรับอย่างน้อย 20 คน จึงได้ไปต่อ

ขั้นตอนที่ 2: การแสดงวิสัยทัศน์

ผู้ถูกเสนอชื่อต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อสภา ซึ่งหมายความว่าจะเสนอชื่อลับหลังโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมไม่ได้

ขั้นตอนที่ 3: การลงคะแนน

ส.ส. ทุกคนรับซองลงคะแนน แล้วโหวตเป็นการลับใส่ซองปิดผนึก จากนั้นนำไปหย่อนลงหีบ

ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้เป็นประธานสภา โดยไม่จำเป็นต้องได้เสียงโหวตเกิน 250 เสียง


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
iPhone SE มีการชาร์จแบบไร้สายหรือไม่ ?
หัวเว่ย จัดแสดงโซลูชัน ณ งานประชุม SNEC 2023
สาเหตุและวิธีป้องกัน โรคซิฟิลิส
เดรเปอร์และอีแวนส์ทำศึกใหญ่ในวันเสาร์ที่อินเดียนเวลส์
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://rileysautographs.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.bbc.com